วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ศัพท์แบบPost-Modern

Anti-Design
โอ้ยดีไซนมันเป็นเรื่องของคนแก่ !!! เราเป็นตัวของตัวเอง ไม่ทำตามดีไซน์เก่าๆแล้ว สมัยนี้ใครๆก็เป็นดีไซนเนอร์ได้
(โดยส่วนตัวผมว่าความหมายของมันนั้นไม่ใช่ไม่มีการดีไซน์เลยแต่เป็น การAnti-Design ของยุคโมเดริน)

Anti-Style
เพราะในยุคโพสโมเดรินนั้นทุกคนต้องการที่จะมีจุดเด่นและมีความเป็นตัวของตัวเองสูง
เราต้องเป็นตัวของตัวเองให้ไปตามคนอื่นได้ไงไม่แนวเลย !!!

Anti-Layout
แน่นอนเราอยู่ในยุคโพสโมเดริน จะให้ไปทำอะไรน่าเบื่อๆอย่างจัดให้อยู่ ในเลยเอ้าท์
อยู่ในกริตได้ยังไง ไม่โพสโมเดรินเอาซะเลย !!!

Anti-Typographical
โดยส่วนตัวยังไม่มั่นใจกับคำนี้ซักเท่าใดนักแต่คาดว่า เป็นการแอนตี้การอ่านได้ของไทโปในสมัยก่อน
ที่ต้องอ่านง่ายเป็นระเบียบ อยู่ในกฎเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การนำเลข " 5 " มาใช้แทนตัว " S "

Anti-Aesthetic
(ต่อต้านความงาม)ความงาม..โธ่!!! มันเป็นเรื่องของคนแก่ๆเค้าทำกัน ความงามเรอะไปยุคเรเนซองค์นู่น
รูปปั้นเดวิดรูปปั้นวีนัส นู่น เราไม่ใช่ศิลปะแบบสมัยก่อนแล้ว ที่คอยจะวาดคนแก้ผ้าอย่างเดียว !!!
(โดยส่วนตัวแล้วผมว่าความงามในแต่ละยุคนั้นไม่เหมือนกัน เช่นผู่หญิงสวยเมื่อ200ปีที่แล้วต่างกับผู้หญืงสวยสมัยนี้)

Anti-Mastery
โธ่ให้ไปทำตามหลักการแบบเก่าๆไม่ใช่แนวสิ เราเป็นพวกยุคใหม่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงไม่อยากทำอะไรเก่าๆหรอก

ปล.คำพูดที่ผู้เขียนนั้นใช้อารมณ์แบบเด็กปฎิเสธสังคม อาจจะดู
ไม่ดีไปบ้าง ถ้าทำให้ไม่พอใจก็ขอโทษไว้ ณ ตรงนี้ด้วย
ขอโทษครับ....


ผมอยากจะแนะนำคำศัพท์ที่เกี่ยวกับโพสโมเดรินดูนะครับ

Pastiche นั้นเป็นลักษณะที่สามารถพบได้ทั่วไปในยุค
postmodern คำนี้มีความ หมายตรงตัวว่า ปนเป ผสม(ไม่ผสาน)
จะเห็นได้ว่างานออกแบบทุกแขนงในยุคนี้จะเป็น
ลักษณะที่เราสามารถเรียกได้ว่า Pastiche กล่าวคือ
การจับเอาลักษณะของสไตล์ต่างๆมาปะ ติดปะต่อกัน
เช่น การผสมกันของแบบตัวอักษร Serif กับ Sans จนเกิดเป็น
Semi Serifพูดเป็นภาษาชาวบ้านให้เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือ
การจับแพะชนแกะเพื่อให้เกิดรูปแบบที่เป็น
ลักษณะครึ่งๆกลางๆ ดูแปลกตาออกไปจากปกติ
โดยการกระทำเช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้
ความแม่นของนักออกแบบเป็นสำคัญ การที่ postmodernist
ใช้การ Pastiche ใน การสร้างงานบ่อยครั้ง จึงเกิดคำพูดที่ว่า
postmodernist ไม่ได้ทำให้เกิดสิ่งใหม่หากแต่
เป็นการหยิบยืมสิ่งเด่นๆของยุคก่อนๆมายำจนเละ เหตุผลก็คือ
หลายๆ ครั้งที่การทำลักษณะนี้ เป็นการเสื่ยงต่อการที่
งานสำเร็จจะดูไร้รสนิยมในการออกแบบ

Camp นั้นจะใช้เรียกแทนความรู้สึกที่มีต่องานลักษณะที่
เมื่อรสนิยมแย่ๆ พยายามที่จะทำ งานออกมาให้ได้ดี
แสดงความพยายามอย่างมากในงาน แต่ยังไงก็ไม่สามารถ
ทำออกมาให้ดีได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้คำนี้ในการเรียก
สไตล์การทำงาน ที่จงใจหยิบเอาความรสนิยมที่ไม่ดี
มาสร้างเป็นเนื้องาน อีกทั้งรวมไปถึงการลอกเลียนหรือ
เลียนแบบในลักษณะที่จงใจทำให้ดูไม่ดีจะเพื่อเป็นการประชด

Kitsch เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับ Camp บางครั้ง
อาจจะเป็นไปได้ที่จะเกิดความ สับสน เพราะงานบางชิ้น
สามารถเป็นได้ทั้ง Campและ Kitschทั้งสองคำมีส่วนที่ร่วมกัน
ก็ คือ ผู้ออกแบบนั้นมีความตั้งใจที่จะผลิตงานที่ดี
แต่ไม่ประสบความสำเร็จในเชิงของการออกแบบ
ความแตกต่างของสองคำนี้อยู่ที่ว่า
Kitsch เป็นการออกแบบที่เกินงาม เช่นการที่ตั้งใจออก
แบบทำให้ดูน่ารักแล้วออกมาน่ารักเกินไป ตั้งใจจะทำให้ขรึม
แต่งานออกมาเป็นการตั้งใจให้ขรึม มากเกินไป
หรือการออกแบบอย่างไรก็ตามที่ไม่อยู่บนความพอดี
(Over Design)

ไม่มีความคิดเห็น: