วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

God Save the Queen !!!

ก่อนอ่านโปรดใช้วิจารณญานในการอ่านอย่างมาก
รายการ " ฉ "


อย่างที่เรารู้ๆกันว่าPostMordernนั้นเป็นขบถตัวยง
และหนึ่งในนั้นSex Pistol ก็เรียกได้ว่าเป็นขบถ
เข้าขั้นวงหนึ่ง ดูได้จากปกเทปของเค้า














บีบีซีกล่าวถึง เซ็กซ์ พิสทอลส์ ว่า "เป็นที่สุดของพังค์ร็อกในอังกฤษ" ซิงเกิ้ลดังของพวกเขาคือเพลง God Save the Queen เนื้อหาล้วนเกี่ยวกับQueen’s Silver Jubilee เกือบหมด ทันใดนั้นวงได้เป็นที่ถูกจับตาในการเป็นแกนนำผู้ขับไล่ราชินี เพลงนี้ประสบความสำเร็จขึ้นชาร์ทที่อันดับ 2 ในอังกฤษ

(ถ้าเป็นที่ไทยนี่ไม่เลเซอร์ขึ้นหัวหรือไม่ก็โดนอุ้มหมกป่าแล้ว)

แน่นอนว่าอยู่ดีๆSex pistol คงจะไม่มาขับไล่ราชิณีโดย
ไม่มีเหตุผลหรอก

เรื่องมันมีอยู่ว่ายุคนั้นน่ะเป็นยุคที่ประเทศอังกฤษ
เกิดความโกลาหล มีจลาจลกลางเมือง
นโยบายภาษีของรัฐบาลที่ขูดเลือดขูดเนื้อ
ประชาชนตาดำๆ และแน่นอนว่าพระนางElizabeth ที่ 2
ช่วยเหลือประชาชนโดยการนั่งยิ้มอยู่บนบัลลังค์
และโบกมือไหวๆ พระนางElizabeth ที่ 2นั้น
ไม่ได้ช่วยเหลือเหล่าผสกนิกรเลย
Sex pistol ได้แต่งเพลงขึ้นมาเพื่อขับไล่พระนาง
โดยประชดประชันว่า

" ขอให้พระเจ้าคุ้มครองราชินี "

(ประมาณว่า ท่านไม่ช่วยอะไรเลยตกนรกแน่ๆ
ขอให้ประเจ้าคุ้มครองท่านด้วย )

ความคล้ายกันของSex pistol กับ PostModern
นั้นอยู่ที่ Sex pistolนั้นเบื่อร็อคเก่าๆอย่าง
David Bowie ซึ่งช่วงนั้นจะนุ่งขาบาน
เริ่มมีโฮโม พังค์จึงเกิดขึ้นมา


เหมือนกับPostModernตรงที่
PostModernนั้นเบื่อ Modernที่ต้อง
ทำงานเรียบร้อบนะ
ทำงานมีกริตเรียบร้อยเป็นระเบียบนะ
ทำงานเพลนๆนะ
งานอิลิเม้นน้อยๆนะ
(ตัวอย่างเช่นPentagram)


แต่PostModernนั้นจะเป็นแบบ..
เฮ้ย ตรูไม่มีกริตนะ
ตรูอยากทำงานแรงๆนะ
ตรูไม่อยากทำตามทฤษฎีการออกแบบๆเดิมนะ

(ตัวอย่างเช่นMTV ที่ใช้เทคนิคการตัดต่อภาพรวดเร็ว
ฉับไว แสงสีเร่งร้อน ใช้กราฟฟิกคอมพิวเตอร์ช่วยเพื่อ
ให้ดูแปลกใหม่ในการนำเสนอ)

หัวหอก หรือผู้สร้างกระแสยุคPostModernนั้น
คือ April Greiman



























Jacques Lacan บอกว่า เกิดจากการไม่มีความสามารถในการเชื่อมรูปสัญญะ
ให้เข้ากับความหมายสัญญะ ซึ่งผู้ชมจะต้องอาศัยประสบการณ์ในการชมอย่างมาก
เพื่อค้นหาความหมายสัญญะเอาเอง


เอาล่ะผมว่าพอแค่นี้ดีกว่ามีความรู้สึกว่าจะโดนอุ้มยังไงก็ไม่รู้แฮะ

ปล.ถ้าใครไม่พอใจอะไรในบทความของผมก็กราบขออภัยมาใน ณ ที่นี้ด้วยครับ

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Survey of Art I

โดยส่วนตัวหลักการของผมนั้นชอบที่จะทดลองสิ่งใหม่ๆ
และแน่นอนบางทีถ้ามีเวลาว่างผมมักชอบออกนอกเส้นทาง

แบบถ้าคุณใช้เส้นทางเดิมๆในการ ไปเรียน ไปทำงาน
มันอาจจะจำเจไปหน่อย ผมเลยนั่งรถเมล์สายที่ไม่เคยขึ้น
จากอนุเสาวรีย์นั่งไปเรื่อยๆจนสถานที่แถวๆนั้นไม่คุ้นตา
แล้วจึงลงเดิน(เพราะถ้านั่งรถมันเร็วจะไม่ทันได้สังเกตุอะไร)

หลังจากพฤติกรรมที่ออกจะชิวไปหน่อยก็ได้ถ่ายรูปมาฝากกัน

















รูปอาจจะไม่ชัดนิดนึงเพราะถ่ายระยะไกล

มันเป็นโลโก้ของร้านนั่งกิน ชา กาแฟ นั่งฟังเพลงชิวๆ
ชื่อร้าน Take A Sit ซึ่งตัว A เค้าจะใช้ตัวเก้าอี้มาแทนตัว A
ซึ่งในร้านก็ตกแต่งได้อารมณ์ดี ไม่หรูมาก Look&Feel

โดยรวมแล้วเข้ากันได้ดีในระดับหนึ่งทีเดียว

ซึ่งผมก็หลวมตัวเข้าไปกินกาแฟแก้วนึง รสชาติใช้ได้แฮะ
คราวหน้าต้องมาอีก แต่มาถูกรึปล่าวนี่อีกเรื่องนึง
















อันนี้เรียกได้ว่าเป็นร้านในตำนานของเด็กจุฬาเลยก็ว่าได้
นั้นคือร้าน " จีฉ่อย " คอนเซปร้านนี้คือ "กุขายทุกอย่าง"


ถ้าเราดูจากหน้าร้านแล้วคิดว่าถ้าหลงเข้าไปนี่
คงใช้เวลาประมาน2วันกว่าจะออกมาได้

เพื่อนผมเคยเล่าเรื่องของจีฉ่อยให้ฟัง


"จีฉ่อย ขอข้าวขาหมูจาน "

"ล่ายๆ ลื้อรอ 10นาที "



10นาทีผ่านไป...


" เอานี่ข้าวขาหมู "

" เท่าไหร่อะ "

" 50 บาท "

ซึ่งจริงๆแล้วแกออกไปหลังร้านแล้วไปซื้อตรงตลาด3ย่าน
แล้วบวกราคาเพิ่ม20บาทเป็นกำไร ซึ่งเพื่อนผมก็ต้อง
ยอมซื้อแต่โดยดี เพราะไปกวนประสาทเค้า


ร้านจีฉ่อยให้ข้อคิดว่าบางครั้งการทำcorperate Identity
อาจจะไม่จำเป็นก็ได้ถ้าร้านเราเจ๋งจริงอย่างร้านจีฉ่อย

ซึ่งหลังจากพฤติกรรมการชิวครั้งนี้ทำให้ผม...
" หลงทาง " ก็จำใต้องเรียกแท็กซี่ไปส่งสถานีรถไฟฟ้าที่
ใกลที่สุด แต่มันก็เป็นประสบการณที่ดีนะได้เจออะไรใหม่ๆ

ว่างๆจะพาไปเที่ยวใหม่ (ถ้าว่างนะ)


ปล.เปลี่ยนให้สีแล้วนะครับ

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ศัพท์แบบPost-Modern

Anti-Design
โอ้ยดีไซนมันเป็นเรื่องของคนแก่ !!! เราเป็นตัวของตัวเอง ไม่ทำตามดีไซน์เก่าๆแล้ว สมัยนี้ใครๆก็เป็นดีไซนเนอร์ได้
(โดยส่วนตัวผมว่าความหมายของมันนั้นไม่ใช่ไม่มีการดีไซน์เลยแต่เป็น การAnti-Design ของยุคโมเดริน)

Anti-Style
เพราะในยุคโพสโมเดรินนั้นทุกคนต้องการที่จะมีจุดเด่นและมีความเป็นตัวของตัวเองสูง
เราต้องเป็นตัวของตัวเองให้ไปตามคนอื่นได้ไงไม่แนวเลย !!!

Anti-Layout
แน่นอนเราอยู่ในยุคโพสโมเดริน จะให้ไปทำอะไรน่าเบื่อๆอย่างจัดให้อยู่ ในเลยเอ้าท์
อยู่ในกริตได้ยังไง ไม่โพสโมเดรินเอาซะเลย !!!

Anti-Typographical
โดยส่วนตัวยังไม่มั่นใจกับคำนี้ซักเท่าใดนักแต่คาดว่า เป็นการแอนตี้การอ่านได้ของไทโปในสมัยก่อน
ที่ต้องอ่านง่ายเป็นระเบียบ อยู่ในกฎเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การนำเลข " 5 " มาใช้แทนตัว " S "

Anti-Aesthetic
(ต่อต้านความงาม)ความงาม..โธ่!!! มันเป็นเรื่องของคนแก่ๆเค้าทำกัน ความงามเรอะไปยุคเรเนซองค์นู่น
รูปปั้นเดวิดรูปปั้นวีนัส นู่น เราไม่ใช่ศิลปะแบบสมัยก่อนแล้ว ที่คอยจะวาดคนแก้ผ้าอย่างเดียว !!!
(โดยส่วนตัวแล้วผมว่าความงามในแต่ละยุคนั้นไม่เหมือนกัน เช่นผู่หญิงสวยเมื่อ200ปีที่แล้วต่างกับผู้หญืงสวยสมัยนี้)

Anti-Mastery
โธ่ให้ไปทำตามหลักการแบบเก่าๆไม่ใช่แนวสิ เราเป็นพวกยุคใหม่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงไม่อยากทำอะไรเก่าๆหรอก

ปล.คำพูดที่ผู้เขียนนั้นใช้อารมณ์แบบเด็กปฎิเสธสังคม อาจจะดู
ไม่ดีไปบ้าง ถ้าทำให้ไม่พอใจก็ขอโทษไว้ ณ ตรงนี้ด้วย
ขอโทษครับ....


ผมอยากจะแนะนำคำศัพท์ที่เกี่ยวกับโพสโมเดรินดูนะครับ

Pastiche นั้นเป็นลักษณะที่สามารถพบได้ทั่วไปในยุค
postmodern คำนี้มีความ หมายตรงตัวว่า ปนเป ผสม(ไม่ผสาน)
จะเห็นได้ว่างานออกแบบทุกแขนงในยุคนี้จะเป็น
ลักษณะที่เราสามารถเรียกได้ว่า Pastiche กล่าวคือ
การจับเอาลักษณะของสไตล์ต่างๆมาปะ ติดปะต่อกัน
เช่น การผสมกันของแบบตัวอักษร Serif กับ Sans จนเกิดเป็น
Semi Serifพูดเป็นภาษาชาวบ้านให้เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือ
การจับแพะชนแกะเพื่อให้เกิดรูปแบบที่เป็น
ลักษณะครึ่งๆกลางๆ ดูแปลกตาออกไปจากปกติ
โดยการกระทำเช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้
ความแม่นของนักออกแบบเป็นสำคัญ การที่ postmodernist
ใช้การ Pastiche ใน การสร้างงานบ่อยครั้ง จึงเกิดคำพูดที่ว่า
postmodernist ไม่ได้ทำให้เกิดสิ่งใหม่หากแต่
เป็นการหยิบยืมสิ่งเด่นๆของยุคก่อนๆมายำจนเละ เหตุผลก็คือ
หลายๆ ครั้งที่การทำลักษณะนี้ เป็นการเสื่ยงต่อการที่
งานสำเร็จจะดูไร้รสนิยมในการออกแบบ

Camp นั้นจะใช้เรียกแทนความรู้สึกที่มีต่องานลักษณะที่
เมื่อรสนิยมแย่ๆ พยายามที่จะทำ งานออกมาให้ได้ดี
แสดงความพยายามอย่างมากในงาน แต่ยังไงก็ไม่สามารถ
ทำออกมาให้ดีได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้คำนี้ในการเรียก
สไตล์การทำงาน ที่จงใจหยิบเอาความรสนิยมที่ไม่ดี
มาสร้างเป็นเนื้องาน อีกทั้งรวมไปถึงการลอกเลียนหรือ
เลียนแบบในลักษณะที่จงใจทำให้ดูไม่ดีจะเพื่อเป็นการประชด

Kitsch เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับ Camp บางครั้ง
อาจจะเป็นไปได้ที่จะเกิดความ สับสน เพราะงานบางชิ้น
สามารถเป็นได้ทั้ง Campและ Kitschทั้งสองคำมีส่วนที่ร่วมกัน
ก็ คือ ผู้ออกแบบนั้นมีความตั้งใจที่จะผลิตงานที่ดี
แต่ไม่ประสบความสำเร็จในเชิงของการออกแบบ
ความแตกต่างของสองคำนี้อยู่ที่ว่า
Kitsch เป็นการออกแบบที่เกินงาม เช่นการที่ตั้งใจออก
แบบทำให้ดูน่ารักแล้วออกมาน่ารักเกินไป ตั้งใจจะทำให้ขรึม
แต่งานออกมาเป็นการตั้งใจให้ขรึม มากเกินไป
หรือการออกแบบอย่างไรก็ตามที่ไม่อยู่บนความพอดี
(Over Design)

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

PostModern ขบถทางความคิด

ทำไม ยุคโพสโมเดรินถึงเป็น ขบถทางความคิด ?

อาจเป็นเพราะ ความน่าเบื่อหน่ายในยุคโมเดริน

ความเป็นระเบียบที่อยู่ในกรอบ วัฐจักรของยุคสมัย

ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมา ทำให้เกิดยุคโพสโมเดรินขึ้น

ที่ผมกล่าวหาว่ายุคโพสโมเดริมนั้นเป็นขบถทางความคิดนั้น

อาจเป็นเพราะ ผลงาน แนวความคิดที่ออกมาในยุคโพสโมเดรินนั้น

แตกต่างจากยุคโมเดรินโดยสิ้นเชิง เช่น ยุคโพสโมเดรินนั้นชอบที่

จะผลงานออกมาในแนวทางเสียดสีสังคม อารมณ์ตลกร้ายจะว่าอย่างนั้นก็ได้

แต่ในยุคโพสโมเดรินนั้นยังชอบที่จะใช้สิ่งที่เค้าทำกันดีๆอยู่แล้วในยุคโมเดริน

แล้วเอามาทำใหม่ในแนวของยุคโพสโมเดริน เราอาจจะเรียกได้ว่า

" เกลียดตัว กินไข่ "

สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามก็จะมีเกิดขึ้นและจบลงไปเป็นวัฐจักร

รวมถึง ยุคสมัยของโพสโมเดรินด้วย...

เสริมนิโหน่ย...

ในยุคสมัยโพสโมเดรินนั้นได้เกิดขบถทางความคิดอีกอย่างหนึ่ง

แต่จะแตกต่างจากงานศิลปะ นั้นคือ " Punk Rock "
(แนวเพลงพั้งค์)

พั้งค์เกิดจากความเบื่อหน่ายในแนวเพลงร็อคเดิมๆที่ผ่านมา

ตัวตนของพั้งค์นั้นเค้าเน้นที่ว่า " ปฎิเสธสิ่งเดิมๆ "

วงดังๆของพั้งค์ก็ได้แก่ Ramones , Sex Pistols, The Clash


เสริมอีกนิดนึงนะ ช่วยทนอ่านหน่อย...

ถ้าพูดถึงขบถล่ะก็ผมนึงถึงคนนี้เลย

" Ivan Illich " ไอวาน อิลลิช

เค้าคนนี้ถือได้ว่าเป็นขบถแห่งวงการศึกษาเลยก็ว่าได้

ถ้าจะว่ากันเนี่ย 8 หน้าก็เอาไม่อยู่ เอาไว้คราวหน้าจะมาเล่าให้ละเอียดๆ

แต่ผมจะทิ้งประโยคเด็ดของเค้าไว้ก่อน

" การศึกษาภาคบังคับ หล่อหลอมให้ผู้มีการศึกษาดูถูก
คนที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง "

อูยๆหลักแหลมๆ คมจริงๆ

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เลื่อนตัวเองขึ้น แต่....อย่าลดคนอื่นลง

อันนี้ก็เป็นบทความที่เคยได้อ่านมาในหนังสือเล่มนึง แต่จำไม่ได้
แล้วเหมือนกัน ก็อาจจะยาวไปหน่อยแต่ก็ลองอ่านดูกันนะ

อาจารย์คนหนึ่งชวนลูกศิษย์เดินไปตามชายหาด
ช่วงหนึ่งของการสนทนาอาจารย์ใช้ไม้เท้าขีดเส้นสองเส้น
ลงไปบนผืนทรายเป็นเส้นคู่ขนานยาว5 ฟุตและ 3 ฟุตตามลำดับ
อาจารย์กล่าวว่า

"เธอลองทำให้เส้น 3 ฟุต ยาวกว่าเส้น 5 ฟุต ให้ดูหน่อยสิ"

ลูกศิษย์หยุดคิดครู่หนึ่ง แล้วตัดสินใจลบรอยเส้นที่ยาว 5 ฟุตนั้น
ให้สั้นลงจนเหลือเพียง 1 ฟุต จึงทำให้เส้น 3 ฟุตโดดเด่นขึ้นมา
แล้วศิษย์ก็สบตาอาจารย์พลางขอความเห็นว่า

"เช่นนี้ ใช้ได้หรือยังครับ"

อาจารย์เขกหัวศิษย์เบา ๆ แล้วบอกว่า

" คนที่คิดจะยกตนเองให้สูงขึ้น โดยการทำร้ายคู่แข่งนั้น
ไม่ใช่วิธีที่ดี ดังนั้นถ้าเลือกใช้วิธีนี้ชีวิตเธอก็มีแต่จะล้มเหลว
ไม่พัฒนาทางที่ดี ควรเลือกวิธีที่จะยกตัวเองขึ้น
โดยไม่ไปลดคนอื่นลง "

แล้วอาจารย์ก็ขีดเส้น 2 เส้นให้เท่าเดิม คือ 3 ฟุต และ 5 ฟุต
อาจารย์ก็สาธิตให้ดูด้วยการขีดเส้น 3 ฟุตให้ยาวขึ้นเป็น 10 ฟุต
แล้วกล่าวว่า

"จงอย่าคิดว่าคู่แข่งของเธอคือศัตรู แต่ให้คิดว่าเป็นครูของเธอ
ที่เธอจะต้องพัฒนาตนเองให้เทียบเท่าหรือดีกว่า"

เขาคือคนสำคัญ ที่จะทำให้เธอได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างสง่างาม
หากไร้คู่แข่ง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองมีศักยภาพใน
การทำงานขนาดไหน ไม่มีอัปลักษณ์ ก็ไม่รู้จักสวยงาม
นักสู้ที่ดีมักชื่นชมคู่ต่อสู้ที่เข้มแข้ง เพราะคู่ต่อสู้ที่อ่อนแอ
จะทำให้ชัยชนะของเขาไม่ยั่งยืนยง ดังนั้นเมื่อได้พบกับ
คู่แข่งที่แกร่งและฉลาดล้ำ ก็ยิ่งทำให้เรารู้จักขยับตัวเองขึ้นไป
ให้สูงส่งยิ่งขึ้นคนที่ พยายามจะเลื่อนตัวเองขึ้นไป
โดยการฆ่าน้อง ฟ้องนาย และขายเพื่อน ถึงแม้จะทำให้สำเร็จ

แต่นั่นก็เป็นความสำเร็จที่ปราศจากเกียรติคุณ
ไม่อาจเอ่ยอ้างได้อย่างเต็มภาคภูมิการเลื่อนตัวเองขึ้นไปโดย
วิธีที่ไม่ชอบธรรม กับการเลื่อนตัวเองขึ้นไปโดยปล่อยให้คนอื่น
ได้ก้าวไปตามวิถีทางของเขาอย่างเสรีนั้นย่อมมีผลลัพธ์ที่ต่างกัน
การเลื่อนตัวเองขึ้นพร้อมกับลดคนอื่นลง เธออาจจะชนะ
แต่ก็มีศัตรูเป็นของแถมแต่การเลื่อนตัวเองขึ้นโดยไม่ลดคนอื่นลง
เธออาจเป็นผู้ชนะ พร้อมกับมีเพื่อนแท้เพิ่มขึ้นมากมายและ
หนึ่งในนั้น อาจเป็นคู่แข่งหรืออดีตศัตรูของเธอเองด้วย
เป็นสังคมแห่งความสำเร็จบนพื้นฐานของมิตรภาพโดยแท้


แหมๆอาจจะยาวไปนิดแต่ก็ให้ข้อคิดอะไรดีๆ โดยส่วนตัวแล้ว
ผมชอบ การสอนเชิงปรัญยาอะไรเทือกนั้นอยู่แล้วด้วยสิ

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Hi - My name is Saenchuen

ก็อันนี้เป็นงานEditorial ที่เค้าให้ทำผลงาน1ชิ้นโดยที่สื่อถึงตนเอง
และนี่เป็นผลงานที่ออกมาครับ














ผลงานที่ออกมาก็จะเน้นเรื่องดนตรีที่ตนเองชอบเป็นหลัก
ส่วนวงที่ชอบนั้นก็คือ Franz Ferdinand
และที่ทำเป็นเงาคนเยอะๆดูเหมือนมีการเคลื่อนไหวเพราะเป็นคนชอบวิชา
Motion Graphic และเนื้อเพลงด้านข้างเป็นเพลงที่ตนเองชอบนั้นคือเพลง
Take Me Out และแอบยิงกิมมิกที่เอามาล้อI Love NewYork
(ซึ่งเป็นงานของMilton Glaser)
มาล้อเป็น I Love Franz Ferdinand
ส่วนใช้วิธีการเทคนิกที่ทำนั้นใช้วิธีคอนราจที่ตนเองชอบ


พอมาทำแบบนี้แล้วเกิดอารมณ์อยากทำโมชั่นอีกซักรอบแฮะ

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Post-Modern Graphic Design

ก่อนที่ผมจะทำการพูดถึงยุคPost-Modernนั้น
ผมอยากจะอธิบายให้เห็นภาพรวมของยุคModernก่อนซักเล็กน้อย

ยุคModernนั้นเป็นสมัยที่หลังสงครามโลกครั้งที่2 และการปฎิวัติอุตสาหกรรม
เป็นยุคแห่งเหตุผล(the Age of Reason)ขึ้นมาแทนที่ศาสนาซึ่งตรึงอยู่กับศรัทธา(faith)
ยุคที่เชื่อในความก้าวหน้า(progression) ซึ่งเป็นฐานให้เกิดการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์
และวิทยาศาสตร์เป็นฐานที่ทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม
และต่อมาทำให้เกิดยุคการแผ่ขยายทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม

ส่วนทางด้านยุคPost-Modernนั้นจะเป็นยุคต่อมาของยุคModern

ในยุคPost-Modernนั้นโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมค่อนข้างที่จะคล้ายกับยุคModern
แต่ว่าในยุคPost-Modernนั้นระบบทุนนิยมค่อนข้างที่จะเป็นใหญ่มากกว่า

การออกแบบนั้นสมัยนี้นั้นเราจะออกแบบเพื่อให้มีการกระตุ้นเพื่อเกิดการอยากซื้อ
ซึ่งจะต่างกับยุคModernซึ่งจะเป็นการออกแบบเพื่อสุนทรีย์ศิลป์มากกว่า

ยุคModern เพื่อความสุนทรีย์
ยุคPost-Modern เพื่อการค้า,เงิน

ในทางด้านกราฟฟิกดีไซน์ของยุคPost-Modernนั้น เรียกได้ว่าท้าทายความคิดของนักออกแบบยุค modern อย่างมากและเปลี่ยนแปลงไปในทางที่คนในยุค modern ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ เช่นการใช้เลข 5 แทนตัว S ในแบบตัวอักษรบางตัวก็กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วสำหรับนักออกแบบยุค Post-modern

และเอกลักษณ์ที่สำคัญของยุคนี้คือการจับเอาลักษณะของสไตล์ต่างๆมาปะติดปะต่อกัน เช่น การผสมกันของแบบตัวอักษร Serif กับ Sans จนเกิดเป็น Semi Serif ซึ่งเราจะเรียกว่า " Pastiche "

ยุคนี้ได้กำเนิดสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ " Corporate identity "

หากจะเปรียบเทียบกันระหว่างยุคModern และ ยุคPost-Modernนั้น
เราอาจจะใช้คำว่า " Construct - Deconstruct "
ถ้าแปลกันโดยทั่วไป Construct ก็คือการสร้างขึ้นมา
Deconstruct ก็คือสิ่งที่ตรงข้ามกัน
ถ้าเราจะเปรียบเทียบกันง่ายๆก็คือ
Construct คือยุคModern ที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
Deconstruct คือยุคPost-Modern ที่นำสิ่งเก่าๆมาเล่าใหม่

งานในยุคPost-Modern นั้นสิ่งที่สังเกตุได้ง่ายเลยคือ ส่วนใหญ่จะมีคอมพิวเตอร์มาช่วย
ไม่ว่าจะในการพิมพ์ การออกแบบ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าการพึ่งของพวกนั้นมากเกินไปโดยที่เราลืมสิ่งเก่าๆนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควร เพราะไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบชื่อดัง ศิลปินชื่อดังก็ยังใช้วิธีการเดิมๆนั่นคือ " มือ " แต่เราก็ต้องยอมรับว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงเทคโนโลยีได้

ปล.ขอบคุณอาจารย์ธนุที่ให้ข้อมูลและแง่คิดต่างๆ

ข้อมูลอ้างอิง :
-บทความของอาจารย์ อนุทิน วงศ์สรรคกร
-http://en.wikipedia.org/wiki/Graphic_design


วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

งานกลุ่ม

ถ้าพูดถึง Milton Glaser แล้วบางคนอาจจะไม่รู้จัก แต่ถ้าพูดว่า
เค้าเป็นคนทำ ไอเลิฟ นิวยอร์ก คงจะอ๋อไปตามๆกัน












โดยปรกติแล้วผมชอบเค้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้วแล้วเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาได้ไป
อ่านข้อความที่เค้าพูดไว้ ซึ่งผมคิดว่าน่าคิดดีเลยเอามาให้ได้ลองอ่านกัน

" มิลตันบอกว่างานกลุ่มเป็นแบบฝึกหัดเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
เป็นการเปิดเผยตัวตนของแต่ละคน เวลาที่สมองและร่างกายเหนื่อยสุดใจ

ขาดดิ้นอย่างนี้ นิสัยใจคอที่แท้จริงจะออกมา ถ้าอีโก้จัดจะทำงานกลุ่มไม่ได้
และถ้าทำงานกลุ่มไม่ได้ จะเป็นดีไซน์เนอร์ที่ดีไม่ได้
เพราะดีไซน์ไม่ใช่งานเสริมอีโก้ งานดีไซน์ทุกอย่างต้องทำร่วมกับคนอื่นเสมอ "

อืม...ที่ตาลุงมิลตั้นพูดมาก็มีส่วนถูกแฮะ
โดยปรกติแล้วผมเป็นคนที่ชอบทำงานเดี่ยวมากกว่างานกลุ่ม
หรือผมเป็นคนที่มีอีโก้สูง ......ก็มีจริงแฮะ

ที่หยิบยกเอาเรื่องนี้มาอัพเพราะตอนวิชาคอม4คาบแรก

อ.จ.ให้มีการแบ่งกลุ่ม แล้วเค้าก็ชี้ให้เห็นปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้น

หลังจากที่อ่านจบมีความคิดขึ้นมา2อย่างในหัว
1.เราน่าจะลดอีโก้ในตัวเองลงบ้าง
2.ตาลุงมิลตั้นนี่เจ๋งสุดๆเรยเลย ถึงจะรู้อยู่ก่อนแล้วว่าเค้าเจ๋งก็เหอะ

โดยส่วนตัวก็มีความคิดที่ว่าคนเรามันต้องมีอีโก้ไว้บ้างแต่อย่าน้อยจนเกินไป

อีโก้ กับ ความมั่นใจ ไม่เหมือนกัน

ที่มา :
http://www.happyfridaystudio.com/board/view.php?No=34